ทำบุญวันออกพรรษา

0 ความคิดเห็น
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้น สุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือนตามปฏิทินจันทรคติไทยการออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า"ปวารณา" 

จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชีข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้นเมื่อถึงวันออกพรรษา 




พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อทำบุญบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้ง ใจจำพรรษาและตั้ง ใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้ง ใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนครพร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วยนอกจากนี้ช่วงเวลาออกพรรษาตั้ง แต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้ง ชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา"ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้ง หลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้ง ใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี, ประโยชน์,ที่เนื่องมาจากกุศล)คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้น แก่ท่านมีสิทธิรับได้
๔.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
๕ ประเพณีเกี่ยวข้องกับทำบุญวันออกพรรษา

http://www.buddhistlent.com

ทำบุญวันเข้าพรรษา

0 ความคิดเห็น
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา



วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา" th.wikipedia.org



ประเพณีการถวายผ้าอาบผ้าน้ำฝน

0 ความคิดเห็น
ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำ สีอนุโลมตามสีจีวร ขนาดยาว ๔ ศอก ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ กระเบียด ๒ อนุกระเบียด ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงกลางเดือน ๘ เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน

มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้ผ้า ๓ ผืนเท่านั้น คือ ผ้านุ่ง (อันตรวาสก) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้าสังฆาฏิ (ผ้าคลุมชั้นนอก) ซึ่งรวมเรียกว่า “ไตรจีวร” ยังหาได้ อนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำไม่มีผ้าผลัดนุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำ นางวิสาขามหาอุบาสิกาทราบเรื่องเข้า จึงกราบทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์มีผ้าอาบ น้ำฝนได้ พิธีถวา ผ้าอาบน้ำฝน

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ, มะยัง, ภันเต, วัสสิ กะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, วัสสิกะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

การถวายผ้าอาบน้ำฝน
๑. เมื่อถึงวันกำหนด ทายก ทายิกามาประชุมพร้อมกันที่อุโบสถ
๒. เมื่อพระแสดงธรรมเสร็จแล้ว ให้ตั้งนะโม ๓ จบ
๓. ขณะนั้นพระสงฆ์ทั้งหมดจะประนมมือ
๔. เมื่อประเคนผ้าเสร็จแล้วจะกล่าวคำอนุโมทนา
ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณกาล ในครั้งสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงอนุญาตและนุ่งห่มได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไป และห้ามมิให้ พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้านุ่งห่มเลยไปจากทรงอนุญาตไว้อนุโมทนา

จังหวัดอุบลราชธานี แถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา2556

0 ความคิดเห็น
จังหวัดอุบลราชธานี แถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2556 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ภายใต้ชื่องาน 112 ปี สืบฮีตวิถีชาวอุบล ฯยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี
ภาพจาก Jukree Boonprasit/shutterstock.com

นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ในปีนี้ ใช้ชื่องานว่า งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 กรกฎาคม 2556 ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี หลังเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลราชธานี ประจำปี 2556 ภายใต้ชื่องาน 112 ปี สืบฮีตวิถีชาวอุบล ฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี โดยความร่วมมือของจังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครอุบลราชธานี หน่วยงาน ภาคเอกชน และประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี

เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า สำหรับปีนี้เป็นการจัดงานครบปีที่ 112 มีกิจกรรมตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งบอกถึงความรักสามัคคีของชาวอุบลราชธานี สะท้อนความงามแห่งศิลปะที่ทรงคุณค่า เชิดชูยึดมั่น หลักคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น ชมวิถีวัฒนธรรมการทำเทียนในชุมชน กิจกรรมถนนสายเทียน งานพาแลงตลาดยามเย็นย้อนยุค การแสดงม่านน้ำชุด มนต์แม่มูล มูลมังเมืองอุบล การประกวดสาวงามเทียนพรรษา การจัดแสดงต้นเทียนประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และเทียนโบราณ การจัดขบวนแห่เทียนภาคกลางวันและภาคกลางคืน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งจะไม่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติผิดหวังอย่างแน่นอน ในโอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานพิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน เพื่อเฉลิมฉลองทั้ง 25 อำเภอ ให้ประชาชนทั่วจังหวัดมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพด้วย

นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ในปีนี้ ใช้ชื่องานว่า งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 กรกฎาคม 2556