ประเพณีไทย ประเพณีตีคลีไฟ จังหวัดชัยภูมิ

ประเพณีตีคลีไฟ   เป็นประเพณีไทยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดให้มีขึ้นมาแต่โบราณ  โดยได้แนวคิด  มาจากการตีคลีของพระสังข์กับพระอินทร์ในวรรณคดี    เรื่อง  สังข์ทอง  การตีคลีไฟเป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดเครื่องนุ่งห่มในสมัยก่อน  หน้าหนาวจะหนาวมาก   พวกผู้ชายจะออกมาที่สนามหน้าลานบ้านแล้วมาร่วมเล่นตีคลีไฟกับพวกผู้หญิง ๆ จะเป็นผู้เผาลูกคลีไฟ ทำให้หายหนาวได้ และเป็นการสร้างความสามัคคีให้   แก่คนในหมู่บ้านอย่างชาญฉลาด  โดยการตีคลีไฟ   เป็นหนึ่งในประเพณีไทยเพื่อการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม      ให้การเล่นดังกล่าว ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหลัง ผู้เป็นต้นเค้าการเล่นครั้งแรก คือ นายหล้า วงษ์นรา   ผู้ใหญ่บ้านหนองเขื่อง  ตำบลกุดตุ้ม  อำเภอเมือง  จังหวัดชัยภูมิ  เริ่มเล่นครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๖๘    ซึ่งเป็นปีแรกที่ตั้งหมู่บ้านหนองเขื่อง      ที่เพิ่งแยกตัวมาจากบ้านกุดตุ้ม   และสืบสานต่อคนหนุ่มในบ้านหนึ่ง    ไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง  ถือว่าตีคลีไฟ เป็นประเพณีของหลายหมู่บ้าน       ในละแวกเดียวกัน  ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน  และได้สืบสานต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้รัก  และอนุรักษ์กีฬาตีคลีลูกไฟ   ซึ่งจะเล่นกันในฤดูหนาว   ช่วงพระอาทิตย์ลับฟ้า   และเพื่อให้เกิดความ   สวยงาม และช่วยให้ร่างกายอบอุ่น   ถือเป็นการวัดใจของผู้ชายอย่างแท้จริง  เพราะเป็นความสมัครใจในการเล่น 

 ประเพณีไทย ตีคลีไฟ

ตีคลีไฟเป็นประเพณีไทย ที่เล่นกันช่วงฤดูหนาวหลังออกพรรษา  ประกอบด้วยผู้เล่นข้างละ ๑๑ คน ชาวบ้านจะใช้ไม้จากต้นหนุนแห้งมาตัดเป็นท่อนแล้วเผาไฟจนกลายเป็นถ่าน ให้ผู้เล่นใช้ไม้ซึ่งทำจากไม้ไผ่หัวขวานลักษณะคล้ายไม้กอล์ฟ ตีเข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม ทีมใดที่สามารถตี   ลูกคลีไฟเข้ามากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งชาวบ้านหนองเขื่อง จะเล่นกันมานาน เป็นกีฬาพื้นบ้านที่จัดให้มีการแข่งขันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ของทุกปี  ซึ่งนับเป็นประเพณีไทยอีกหนึ่งการละเล่นที่สามารถรับชมได้ที่ บ้านหนองเขื่อง ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ แห่งเดียวเท่านั้น

เรื่องราวเริ่มต้นของประเพณีตีคลีไฟ เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ โดยสมัยก่อนจะมีการก่อกองไฟแก้หนาวในช่วงพลบค่ำ วันหนึ่งระหว่างที่มีการเล่นตีคลี บังเอิญลูกคลีเกิดกลิ้งเข้าไปในกองไฟแล้วติดไฟ แต่ด้วยความสนุกและไม่อยากหยุดเล่น ชาวบ้านจึงตีคลีกันต่อทั้งที่ติดไฟ แต่พอตีแล้วเห็นเป็นแสงไฟสวยงาม ทำให้ถูกนำมาเล่นกันเป็นประจำ

ประเพณีไทย ต่าง ๆ  ที่กล่าวยกมานี้  ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า  แฝงเร้นไปด้วยกุศโลบาย ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงความรักความสามัคคีของคนในท้องถิ่น    และหมู่บ้านใกล้เคียง       ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้กับประชาชนทั่วไป และชาวต่างชาติ   อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ในช่วงเทศกาลงานบุญประเพณีได้อีกทางหนึ่งด้วย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow