ประเพณีไทยและวัฒนธรรมประเพณีไทย 4 ภาค

ประเพณีไทย

วัฒนธรรมไทย

ประเพณีไทย 4 ภาค[ View all ประเพณีไทย 4 ภาค ]

Latest Updates

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดนครพนม

0 ความคิดเห็น
การแห่งปราสาทผึ้ง  เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทำเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คำว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"

ความเชื่อเรื่องการแห่ปราสาทผึ้ง  เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา โดยเริ่ม พิธีกรรมนี้ ในภาคอีสาน ตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในตำนาน เรื่องหนองหาน (สกลนคร) กล่าวไว้ว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจ และครองเมืองหนองหานในแผ่นดินพระเจ้าสุวรรณภิงคาราช  ได้โปรดให้ ข้าราชบริพารทำต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้งในวันออกพรรษา เพื่อห่คบงันที่วัดเชิงชุม (วัดมหาธาตุเชิงชุมวรวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดวันปราสาทผึ้ง ติดต่อกันมาทุกปี



ความสาคัญของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง การแห่งปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทาเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คาว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน ช่วงเวลา เทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด แต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนคร ชาวสกลนครมีการฉลองเทศกาลออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ด้วยการสร้าง “ ปราสาทผึ้ง ” ถวายเป็นพุทธบูชาโดยยึดคติความเชื่ออยู่ 2 กระแส คือที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเวลาผู้คนและเป็นของสูง หากเป็นที่ประทับของ พระราชาก็เรียกว่า พระราชวัง ถ้าเป็นที่อยู่ของเศรษฐีก็เรียกว่า คฤหาสน์ ส่วนสถานที่จาพรรษาของพระภิกษุสามเณรนิยมเรียกว่า กุฏิ สาหรับที่อยู่ของคนธรรมดาสามัญพากันเรียกว่า "บ้าน"ส่วนความเชื่ออีกกระแสหนึ่ง สืบเนื่องมาจากครั้งพุทธกาลได้มีพระภิกษุชาวโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกัน ระหว่างพระธรรมธรฝ่ายหนึ่งกับพระวินัยธรอีกฝ่ายหนึ่ง แม้พระพุทธองค์ทรงตักเตือนสักเท่าใดก็ไม่ฟัง จึงเสด็จหนีความราคาญเหล่านั้นไปพักอยู่ที่ป่ารักขิตวัน ซึ่งที่ป่านั้นมีพญาช้างและพญาวานรคอยเป็นอุปัฏฐากพระพุทธองค์ โดยพญาช้างมีหน้าที่ตักน้า ส่วนพญาวานรเป็นผู้หาผลไม้มาถวายเป็นประจาตลอดพรรษา อยู่มาวันหนึ่งพญาวานรได้ไปพบรวงผึ้งบนต้นไม้เข้า จึง เก็บมาถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับรวงผึ้งนั้นแล้วทาให้พญาวานรดีใจมาก ถึงกับกระโดดโลดแล่นไปบนต้นไม้กระโจน ไปมาบนคาคบ เกิดพลาดพลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย ด้วยอานิสงส์จากการได้ถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธเจ้า ทาให้พญาวานรได้ไปเกิด เป็นพรหมบนสวรรค์ด้วยความเชื่อทั้งสองกระแสจึงเป็นที่มาของประเพณีปราสาทผึ้ง

อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดังกล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มา จากคติของชาวจีนที่ทามาหากินในสกลนคร ที่ทาการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคารเผาอุทิศให้ผู้ตาย แต่หากดัดแปลงเป็นการสร้าง อาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวายพระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์การทาปราสาทผึ้งส่วนมากในอีสานนิยมทากันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า 1. เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 2. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้ม มีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจานวนมาก 3. เพื่อรวมพลังสามัคคีทาบุญร่วมกัน พบประ สนทนากันฉันท์พี่น้อง 4. เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทาง กุศลให้ปรากฏโดยชาวคุ้มวัดต่าง ๆ ร่วมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงิน ตามศรัทธาพร้อมกัน ทาปราสาทผึ้ง กาหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่ง เรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่ สามทาบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร

ประเพณีทำบุญวันสาทรเดือนสิบ

0 ความคิดเห็น
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ( th.wikipedia.org )



ประเพณีทำบุญวันสาทรเดือนสิบเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที

ความเป็นมาของประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบสันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่รับอิทธิพลมาจากวัฒธรรมอินเดียกับประเพณอื่นอีกหลายประเพณีที่ชาวนครฯรับมา ทั้งนี้เพราะว่าชาวนครติดต่อกับอินเดียมานาน ก่อนดินแดนส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย วัฒธรรมและอารยธรรมของอินเดียส่วนใหญ่จึงถ่ายทอดมายังเมืองนครเป็นแห่งแรกแล้วค่อย ๆ ถ่ายทอดไปยังเมืองอื่น ๆและภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี " เปตพลี " ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า " เปตพลี " เป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล

คำว่า " แปต " เป็นภาษาบาลีตรงกับคำว่า " เปรต " ในภาษาสันสกฤตแปลว่า " ผู้ไปก่อน " หมายความถึงบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ของใคร ๆ ทุกคน ถ้าเป็นคนดี พญายมซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายจะพาวิญญาณไปสู่แดนอันเป็นบรมสุขไม่มาเกิดอีกแดนนี้อาจจะอยู่ทิศใต้แคนเดียวกับยมโลก ตามความเชื่ออันเป็นความเชื่อดังเดิมที่สุดของพราหมณ์ซึ่งมีปรากฏในพระเวท อันเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาพราหมณ์ได้เกิดความเชื่อชิ้นใหม่ คือความเชื่อ เกี่ยวกับนรก ดังนั้นชาวอินเดียจึงเกรงว่าบรรพบุรุษที่ตายอาจจะไปตกนรกก็ได้หากคนไม่ช่วย วิธีการช่วยไม่ให้คนตกนรกก็คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เรียกว่าพิธีศราทธ์ ซึ่งกำหนดวิธีการทำบุญไว้หลายวิธี หากลูกหลานญาติมิตรไม่ทำบุณอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุที่ตายไปเป็นเปรตจะได้รับความอดยากมาก ดังนั้น การทำบุญทั้งปวงที่ทำเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าทำบุญทักษิณานุปทานหรือเปตพลี นั้นล้วนเป็นความเชื่อที่มีเค้ามาจากเรื่องเปรตของพราหมณ์ทั้งสิ้น

พิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ มีดังนี้

๑. การจัดหฺมฺรับเริ่มในวันแรม ๑๓ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมใส่หฺมฺรับ

การจัดหฺมฺรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถาด กาละมัง เข่ง กระเชอ เป็นต้น ชั้นล่างสุดบรรจุอาหารแห้ง ชั้นสองเป็นพืชผักที่เก็บไว้นาน ชั้นสามเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ขั้นบนสุด ประดับขนมสัญลักษณ์เดือนสิบ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า     ขนมดีซำ ขนมแต่ละชนิดมีความหมายดังนี้          
  • ขนมลา เป็นเสมือนเสื้อผ้าที่ให้บรรพบุรุษใช้นุ่งห่ม
  • ขนมพอง เป็นเสมือนแพที่ให้บรรพบุรุษข้ามห้วงมหรรณพ
  • ขนมกง เป็นเสมือนเครื่องประดับ ใช้ตกแต่งร่างกาย
  • ขนมบ้า เป็นเสมือนเมล็ดสะบ้า ไว้เล่นในวันตรุษสงกรานต์
  • ขนมดีซำ เป็นเสมือนเงินตรา ไว้ให้ใช้สอย

๒. การยกหฺมฺรับในวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะยกหฺมฺรับที่จัดเตรียมไว้ไปวัด และนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย โดยเลือกไปวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยมไป

๓. การฉลองหฺมฺรับและบังสุกุลเมื่อนำหมฺรับไปวัดแล้ว จะมีการฉลองหฺมฺรับ และทำบุญเลี้ยงพระเสร็จแล้วจึงมีการบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก

๔. การตั้งเปรตเสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

บางวัดนิยมสร้างหลาเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต บางวัดสร้างหลาเปรตไว้บนเสาสูงเพียงเสาเดียว เกลาและชะโลมน้ำมันเสาจนลื่น เมื่อเวลาชิงเปรตผู้ชนะคือผู้ที่สามารถปีนไปถึงหลาเปรตซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงสนุกสนานและตื่นเต้น          

ทำบุญวันออกพรรษา

0 ความคิดเห็น
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้น สุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือนตามปฏิทินจันทรคติไทยการออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า"ปวารณา" 

จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชีข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้นเมื่อถึงวันออกพรรษา 




พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อทำบุญบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้ง ใจจำพรรษาและตั้ง ใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้ง ใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนครพร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วยนอกจากนี้ช่วงเวลาออกพรรษาตั้ง แต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้ง ชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา"ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้ง หลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้ง ใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี, ประโยชน์,ที่เนื่องมาจากกุศล)คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้น แก่ท่านมีสิทธิรับได้
๔.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
๕ ประเพณีเกี่ยวข้องกับทำบุญวันออกพรรษา

http://www.buddhistlent.com

ทำบุญวันเข้าพรรษา

0 ความคิดเห็น
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา



วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา" th.wikipedia.org



ประเพณีการถวายผ้าอาบผ้าน้ำฝน

0 ความคิดเห็น
ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำ สีอนุโลมตามสีจีวร ขนาดยาว ๔ ศอก ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ กระเบียด ๒ อนุกระเบียด ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงกลางเดือน ๘ เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน

มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้ผ้า ๓ ผืนเท่านั้น คือ ผ้านุ่ง (อันตรวาสก) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้าสังฆาฏิ (ผ้าคลุมชั้นนอก) ซึ่งรวมเรียกว่า “ไตรจีวร” ยังหาได้ อนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำไม่มีผ้าผลัดนุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำ นางวิสาขามหาอุบาสิกาทราบเรื่องเข้า จึงกราบทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์มีผ้าอาบ น้ำฝนได้ พิธีถวา ผ้าอาบน้ำฝน

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ, มะยัง, ภันเต, วัสสิ กะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, วัสสิกะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

การถวายผ้าอาบน้ำฝน
๑. เมื่อถึงวันกำหนด ทายก ทายิกามาประชุมพร้อมกันที่อุโบสถ
๒. เมื่อพระแสดงธรรมเสร็จแล้ว ให้ตั้งนะโม ๓ จบ
๓. ขณะนั้นพระสงฆ์ทั้งหมดจะประนมมือ
๔. เมื่อประเคนผ้าเสร็จแล้วจะกล่าวคำอนุโมทนา
ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณกาล ในครั้งสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงอนุญาตและนุ่งห่มได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไป และห้ามมิให้ พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้านุ่งห่มเลยไปจากทรงอนุญาตไว้อนุโมทนา

Advertise.

Blog Archive

Followers

Online