วัฒนธรรมต่างชาติ กำลังกลืนกินวัฒนธรรมประเพณีไทย ?

สังคมวัฒนธรรมประเพณีไทยกำลังจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับอาเซียนในปี 2558 หลายฝ่ายขมักเขม้นกับการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ แต่เชื่อแน่เถอะว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ยังไม่เข้าใจ ผลดีผลเสียของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยเฉพาะประชาชนในชนบทหรือแม้แต่คนเมืองก็ตามทีบางท่านก็ยังมองขัดแย้งกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้

การรุกคืบของวัฒนธรรมเกาหลีเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งจะเป็นมากกว่ากำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ แต่พวกเขาทุกคนในอนาคตจะต้องเป็นตัวแทนของประเทศในการเผยแพร่เรื่องราวของประเทศไปให้ต่างประเทศได้รับรู้ว่าอะไรคือ “ประเทศไทย” หรืออาจจะเรียกว่า พวกเขา คือ “Cultural Agent”

ไซ กังนัม สไตล์
ไซ กังนัม สไตล์ ภาพจาก youtube.com

สิ่งที่น่าห่วงมากที่สุดในประเด็นนี้คือการที่บริษัทด้านบันเทิงและกระทรวงวัฒนธรรมยังขาดในเรื่องการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะพยายามต่อยอดความเป็นไทยไปสู่ระดับนานาชาติซึ่งตอนนี้ ต้องยอมรับว่าคนไทยส่วนหนึ่งกลายเป็นทาสทางวัฒธรรมของเกาหลีไปแล้ว จากละครซีรีส์ มิวสิควิดีโอเพลง การแสดงคอนเสิร์ต อาหารเกาหลีและภาษาเกาหลี

เรารับวัฒนธรรมเกาหลี เป็นวัฒนธรรมหลักของกระแสตะวันออก ซึ่งกระแสนี้เริ่มรุ่นแรงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้แนวโน้มความคิดความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนชีวิตหลายเรื่องมีการนำเอาแบบแผนเกาหลีมาเป็นแบบแผนชีวิต  และแนวโน้มในอนาคตกระแสวัฒนธรรมเกาหลีจะรุนแรงขึ้นผ่านวัฒนธรรมด้านภาษาและปรัชาญาที่เป็นจุดแข็งของเกาหลี

การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมไทย เราจะต้องเริ่มสร้างจุดแข็งทางวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่ออภิวัฒน์วัฒนธรรมให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัย โดยค้นหาว่าอะไรคือจุดแข็งของวัฒนธรรมไทย เช่นการละเล่น การแสดง ประเพณีการแต่งกาย อาหารการกิน ฯลฯ บางอย่างต้องปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับยุคสมัย เช่นละครทีวีแบบไทย ๆ มาตรฐานควรเป็นเช่นใด เราจะเน้นให้หญิงไทยตบตีวี๊ดว๊ายกันเพื่อแย่งสามีหรือคนรักกันอยู่ร่ำไปเช่นนี้หรือ..โดยเปรียบเทียบกับภาพยนตร์เชิงวัฒนธรรมจากเกาหลีทำไมเขาสามารถครองตลาดได้ทั่วโลก

เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสโลก อะไรควรอภิวัฒน์อย่างไรเราควรร่วมมือกันทำเพื่อลูกหลาน ไม่งั้นจะไม่เห็นลูกหลานสานต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยอีกเลย หากเราไม่คิดไว้แต่วันนี้ ทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงนี่คือสัจธรรม อะไรที่หมดคุณค่ามันก็ต้องตายไป แต่เราต้องสร้างสิ่งใหม่มาทดแทนเพื่อดำรงเอกลักษณ์ไทยไว้ในยุคต่อไป

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow