ประเภทของประเพณีไทย

ประเพณีไทย แยกเป็น ประเภท คือ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล

๑. ประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
เป็นประเพณีไทยเกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ได้แก่ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ
๑.๑ ประเพณีการเกิด เป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสำคัญ แล้วแต่ความเชื่อของบุคคลหรือสังคมที่ตนอยู่ ซึ่งแต่เดิมคนเชื่อในสิ่งลึกลับ พิธีกรรมจึงมีตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอดเพื่อป้องกันอันตรายแก่ทารก เช่น ทำขวัญเดือน โกนผมไฟ พิธีลงอู่ ตั้งชื่อ ปูเปลเด็ก โกนจุก (ถ้าไว้จุก) เป็นต้น
๑.๒ ประเพณีการบวช ถือเป็นสิ่งที่ช่วยอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ตลอดจนทดแทนบุญคุณพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ตัวผู้บวชเองก็จะมีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมวินัย
- การบรรพชา คือ บวชเณร ต้องเป็นเด็กชายที่มีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้น
- การอุปสมบท คือ บวชพระ ชายที่บวชต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
๑.๓ ประเพณีการแต่งงาน เกิดขึ้นภายหลังที่ผู้ชายบวชเรียนแล้ว เพราะถือว่าได้รับการอบรมมาดีแล้ว เมื่อเลือกหาหญิงตามสมควรแก่ฐานะ ฝ่ายชายก็ให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอฝ่ายหญิงขั้นตอนต่าง ๆ ก็เป็นการหาฤกษ์ยาม พิธีหมั่น พิธีแห่ขันหมาก กากรรดน้ำประสาทพร การทำบุญ เลี้ยงพระ พิธีส่งตัวเจ้าสาว เป็นต้น การประกอบพิธีต่าง ๆ ก็เพื่อความเป็นมงคลให้ชีวิตสมรสอยู่กันอย่างมีความสุข
๑.๔ ประเพณีการเผาศพ ตามคติของพระพุทธศาสนา ถือว่าร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ
- ดิน (เนื้อ หนัง กระดูก)
- น้ำ (เลือด เหงื่อ น้ำลาย)
- ลม (อากาศหายใจเข้า-ออก)
- ไฟ (ความร้อนความอบอุ่นในตัว)
ดังนั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว สังขารที่เหลือจึงไม่มีประโยชน์อันใด การเผาเสียจึงเป็นสิ่งที่ดี ผู้ที่อยู่เบื้องหลังไม่ห่วงใย โดยมากมักเก็บศพไว้ทำบุญให้ทานชั่วคราว เพื่อบรรเทาความโศกเศร้า โดยปกติมักทำการเผาศพหลังทำบุญ 100 วันแล้ว เพราะได้ทำบุญให้ทานครบถ้วนตามที่ควรแล้ว

. ประเพณีเกี่ยวกับสังคม หรือประเพณีส่วนรวม
เป็นประเพณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ประเพณีส่วนรวมที่คนไทยส่วนมากยังนิยมถือปฏิบัติกัน เช่น
๒.๑ ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่กำเนิดจากประเทศอินเดีย เป็นประเพณีเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีใหม่ ไทยเราใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วันเริ่มต้นปีใหม่คือวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือปฏิบัติจนถึงปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลาจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในวันสงกรานต์จะมีการทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา สรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำกัน การเล่นกีฬาพื้นเมือง ปัจจุบันยังเป็นประเพณีนิยมเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน ได้เยี่ยมพ่อแม่ ญาติพี่น้อง
๒.๒ ประเพณีเข้าพรรษา สืบเนื่องมาจากอินเดียโบราณ กำหนดให้พระสงฆ์ที่จาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ กลับมายังสำนักของอาจารย์ในฤดูฝน เพราะลำบากแก่การจาริก ยังได้ทบทวนความรู้ อุบาสก อุบาสิกาได้ทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายต้นเทียน เพ่อให้พระสงฆ์ใช้ในพรรษาชาวไทยนิยมถือปฏิบัติการเข้าพรรษาแรก คือ ปุริพรรษา เริ่มตั้งแต่วัน 1 ค เดือน 8 จนถึง วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
๒.๓ ประเพณีการทอดกฐิน ทอดผ้าเมื่อพ้นพรรษาแล้วจะมีประเพณีถวายผ้าพระกฐินแก่พระสงฆ์ เพื่อผลัดเปลี่ยนกับชุดเดิม ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย


ประเพณีไทยท้องถิ่น
ได้แก่ ประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันในแต่ละท้องถิ่น หรือแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ดังนี้
- ภาคกลาง เช่น ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีวิ่งควาย ตักบาตรเทโว ทำขวัญข้าว เป็นต้น
- ภาคใต้ เช่น ประเพณีบุญเดือนสิบ ประเพณีพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ เป็นต้น
- ภาคเหนือ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีรดน้ำดำหัว ประเพณีปอยส่างลอง เป็นต้น
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นต้น
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทุกภาคมีความสำคัญต่อคนไทยในแต่ละภาค แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ควรส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นมรดกของสังคมสืบไป

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow