Friday, November 09, 2012
toodtv
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า (พระมหาธรรมราชา 1) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง
ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล
ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของชาติ เอกราชทางดินแดน และมรดกทางวัฒนธรรมแห่งปัญญาของสยามประเทศ ใช้เวลาบ่มเพาะมานานหลายร้อยปีจากการดำเนินพระราโชบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัติย์ไทย ตลอดจนจากภูมิปัญญาของบรรพชนอันควรค่าแก่การเทิดทูนบูชาและ จารึกไว้ในจิตสำนึกของอนุชน รุ่นหลัง ตั้งแต่โบราณกาล ชาวไทยผูกพันชิดใกล้กับสายน้ำมาโดยตลอด การทำนาปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพ ต้องอาศัยน้ำสร้างบ้านแปลงเมืองก็ต้องอยู่ใกล้แม่น้ำไปมาหาสู่กันก็อาศัยน้ำนำพา เรือกลายเป็นวิถีชีวิต ของชนชาติไทยตั้งแต่สามัญชนถึงพระมหากษัติย์ จากเรือขุดเรียบง่ายที่ใช้เป็นพาหนะพัฒนาเป็นเรือที่ใช้ในการรบ ปรับปรุงแต่งเสริมเป็นเรือพระราชพิธีอย่างงดงามวิจิตร จึงเกิดเป็นขบวนพยุหยตราทางชลมารคที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติม
www.navy.mi.th/royalbarge
lms.thaicyberu.go.th
th.wikipedia.org/wiki/กระบวนพยุหยาตราชลมารค
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow