ประเพณีการแต่งงานแบบไทย

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย การแต่งงานเกิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิดความรักใคร่ชอบพอกันในเวลาอันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง

ในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา

 ประเพณีการแต่งงานแบบไทย
ภาพประกอบจาก bangkokexpress.net

ประเพณีการแต่งงาน คือ พิธีกรรมที่ประกาศความเป็นสามี-ภรรยากัน ในงานพิธีนั้น ว่าที่สามีจะเรียกว่า เจ้าบ่าว ส่วนว่าที่ภรรยาเรียกว่า เจ้าสาว เรียกรวมกันเป็น คู่บ่าวสาว การแต่งงานถือเป็นการเริ่มต้นสำหรับการใช้ชีวิตคู่ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ของหมู่มวลมนุษย์ชาติ การที่จะแต่งงานกันได้นั้น ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายต้องเห็นพ้องต้องกันและอยู่ในวัยอันพอเหมาะสมควร มีหน้าที่การงานที่ดีที่จะพาครอบครัวให้อยู่รอดได้ ประเพณีและวัฒนธรรมของการแต่งงานนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

การแต่งงาน ในความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า “การทำพิธีเพื่อให้ชายหญิง อยู่กินเป็นผัวเมียกันตามประเพณี” การแต่งงานถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวของมนุษย์ในสังคม ผู้ที่จะมีครอบครัวได้ ก็คือ ชายหญิงที่อยู่ในวัยอันสมควร ที่จะเป็นสามีภริยากันได้ โดยชอบด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และตัวบทกฎหมายของสังคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคตามสมัย ทำให้พิธีการแต่งงาน มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย โดยทั่วไป จะมีลำดับ 3 ขั้นตอนดังนี้
 1.การสู่ขอ – ฝ่ายชายก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ที่ตนให้ความเคารพ ไปสู่ขอผู้หญิงกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
 2.การหมั้น – หลังจากที่มีการสู่ขอแล้ว ขั้นต่อไป ฝ่ายชายก็จะจัดขบวนขันหมากไปที่บ้านของฝ่ายหญิง
 3.พิธีแต่งงาน – ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ รดน้ำสังข์เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ ที่นับถือได้เป็นสักขีพยานในการแต่งงาน จากนั้นก็มักจะมีการกินเลี้ยงกัน
 4.ชุดวิวาห์ - ชุดที่ใส่ในพิธีแต่งงานโดยชุดดังกล่าวนั้นจะสวมใส่เฉพาะฝ่ายหญิงหรือสตรีผู้เป็นเจ้าสาวเรียกว่าชุดวิวาห์ ซึ่งมีหลากหลายสีตามชนชาติ และวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ แต่สวนมากจะเป็นสี ขาว ครีม งาช้าง ชมพู แดง ทอง ล้วนแต่เป็นสีที่มงคลที่นำมาสวมใส่ไม่นิยมสวมใส่สีที่ไม่เป็นมงคล เช่น สีดำ สีม่วง

ในชีวิตคู่ของการแต่งงานส่วนใหญ่มักจะมีปัญหากันทุกครอบครัว มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป แล้วแต่สภาพของปัญหาของแต่ละครอบครัว ขณะเดียวกันหากจะเกิดการหย่าร้างกันขึ้นก็เป็นเพราะคู่แต่งงานไม่เข้าใจกันและขาดความอดทน หรือเกิดนอกใจซึ่งกันและกัน หรืออาจะมาจากมือที่สามเข้ามายุ่งเกี่ยว หรืออาจจะมาจากการห่างเหินกันเองของคู่แต่งงาน หรือการอยู่ร่วมกันเป็นเดือนเป็นปีโดยไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศฉันสามีภรรยา ก็จะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดการหย่าร้างกันได้ และในสังคมปัจจุบันปัญหาความไม่สมดุลทางเพศสัมพันธ์มักจะทำให้เกิดการหย่าร้างกันมาก

อย่างไรก็ตามทั้งคู่ต้องพยายามประคองชีวิตคู่ให้อยู่ด้วยกันให้นานที่สุด จะได้ไม่ทำให้ลูกและครอบครัวมีปัญหา โดยเฉพาะปัญหาทางด้านจิตใจ ด้วยเหตุนี้ประเพณีการแต่งงานจึงเป็นประเพณีไทยที่ควรรักษาและศึกษาให้ดี เพื่อจะได้เป็นแบบแผนสืบต่อไปตราบชั่วกาลนาน ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่ปลูกฝังค่านิยม ประเพณี และวัฒนธรรมได้อย่างดีที่สุด เพื่อความรักที่มั่นคงยืนยาว

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow