Thursday, November 08, 2012
toodtv
การสู่ขวัญนั้นถือเป็นประเพณีไทยภาคอีสานที่ต้องการบำบัดทางจิตใจ โดยที่การสู่ขวัญนั้นทำให้ผู้ที่ได้รับการสู่ขวัญนั้นเกิดความมั่นใจมายิ่งขึ้น จะเห็นได้จากการรักษาโรคของแพทย์นั้นจะต้องใช้วิธีการจิตบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาทางวิทยาศาสตร์ การสู่ขวัญนี้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น หากผู้ที่เข้าพิธีสู่ขวัญมีอาการไม่สบายอยู่ก่อนแล้วแต่เมื่อได้รับการสู่ขวัญแล้วบุคคลนั้นก็จะเกิดความมั่นใจว่าตนเองต้องหาย เมื่อมีความมั่นใจว่าต้องหายป่วยอาการต่าง ๆ ที่เคยเป็นก็ค่อยทุเลาลงเนื่องมาจากจิตใจเป็นตัวกำหนดนั่นเอง
พิธีบายศรีสู่ขวัญ บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย และคนลาว ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท
การจะประกอบประเพณีบายศรีสู่ขวัญพิธีนั้นทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นด้วยการ นิมนต์พระสงอย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระ เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาพุทธแล้วจึงจะทำพิธีสู่ขวัญ การจัดพาขวัญ จะทำเป็นบายศรีหรือใบศรี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น ขึ้นอยู่กับโอกาส และควมาเหมาะสม บายศรีชั้นล่างจะบรรจุดอกไม้ บายศรีชั้น 5 จะบรรจุฝ้ายผูกแขน เวียนเทียนรอบหัว เวียนเทียนรอบตัว นอกจากจัดพาขวัญแล้วจะต้องนำผ้าแพร หวี กระจก น้ำอบน้ำหอม สร้อยแหวน ของผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญใส่พานอีกใบหนึ่งวางไว้ข้าง ๆ พาขวัญ การสวด ผู้เป็นเจ้าของขวัญต้องจับพาขวัญด้วยมือขวา ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เป็นไปตามคำสู่ขวัญ ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมวงอยู่ด้านหลังตั้งจิตอธิษฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุข ความเจริญ พราหมณ์หรือหมอขวัญจะเริ่มทำพิธีด้วยการจุดธูปและเวียนรอบตัว กราบพระรัตนไตยมือจับสายสิญจน์ขึ้นประนมแล้วกล่าวคำสูตรขวัญเป็นการเชิญขวัญ การเชิญขวัญนี้จะต้องสวดสูตรขวัญด้วยทำนองที่ไพเราะเร้าใจให้ขวัญมาสู่ตน เมื่อสู่ขวัญเสร็จแล้วพราหมณ์จะผูกแขนให้เจ้าของขวัญเป็นคนแรก ต่อจากนั้นญาติพี่น้องจะช่วยกันผูกแขนด้วยฝ้ายผูกแขน ถือว่าเป็นการผู้ขวัญให้อยู่กับตนในขณะที่ผู้กข้อมือก็จะให้พรแก่เจ้าของ ขวัญด้วย
การจะประกอบประเพณีบายศรีสู่ขวัญพิธีนั้นทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นด้วยการ นิมนต์พระสงอย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระ เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาพุทธแล้วจึงจะทำพิธีสู่ขวัญ การจัดพาขวัญ จะทำเป็นบายศรีหรือใบศรี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น ขึ้นอยู่กับโอกาส และควมาเหมาะสม บายศรีชั้นล่างจะบรรจุดอกไม้ บายศรีชั้น 5 จะบรรจุฝ้ายผูกแขน เวียนเทียนรอบหัว เวียนเทียนรอบตัว นอกจากจัดพาขวัญแล้วจะต้องนำผ้าแพร หวี กระจก น้ำอบน้ำหอม สร้อยแหวน ของผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญใส่พานอีกใบหนึ่งวางไว้ข้าง ๆ พาขวัญ การสวด ผู้เป็นเจ้าของขวัญต้องจับพาขวัญด้วยมือขวา ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เป็นไปตามคำสู่ขวัญ ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมวงอยู่ด้านหลังตั้งจิตอธิษฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุข ความเจริญ พราหมณ์หรือหมอขวัญจะเริ่มทำพิธีด้วยการจุดธูปและเวียนรอบตัว กราบพระรัตนไตยมือจับสายสิญจน์ขึ้นประนมแล้วกล่าวคำสูตรขวัญเป็นการเชิญขวัญ การเชิญขวัญนี้จะต้องสวดสูตรขวัญด้วยทำนองที่ไพเราะเร้าใจให้ขวัญมาสู่ตน เมื่อสู่ขวัญเสร็จแล้วพราหมณ์จะผูกแขนให้เจ้าของขวัญเป็นคนแรก ต่อจากนั้นญาติพี่น้องจะช่วยกันผูกแขนด้วยฝ้ายผูกแขน ถือว่าเป็นการผู้ขวัญให้อยู่กับตนในขณะที่ผู้กข้อมือก็จะให้พรแก่เจ้าของ ขวัญด้วย
"ขวัญ" ตามความหมายที่ใช้กันหมายถึง ผมที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยบนศรีษะ นอกจากนี้ยังกินความรวมไปถึง วิญญาณหรือสิ่งที่ไม่มีตัวตนประจำกายคนและสัตว์มาตั้งแต่แรกเกิด ชาวอีสานนิยมเรียกสิ่งที่ตนรักว่า "ขวัญ" เช่น เมียขวัญ เสาขวัญ นาขวัญ ข้าวขวัญ และเรียกผู้ที่รู้พิธีทำขวัญว่า "หมอขวัญ" หรือพราหมณ์ พิธีเรียกขวัญให้มาอยู่กับตนเรียกว่า "สู่ขวัญ" เรียกว่า "สูตรขวัญ" เหตุที่ทำการสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตทั้งในยามประสบโชคและประสบ เคราะห์ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยก็ทำพิธีสู่ขวัญ ย้ายที่อยู่ ไปค้าขายได้เงินทองมามากก็สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ ประกอบการงานเสร็จเป็นผลสำเร็จ ได้ลาภ ยศ เกียรติ เสื่อมลาภ ยศ เกียรติก็จะทำพิธีสู่ขวัญ
ที่มา ประเพณีไทย ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ วิถีชีวิต จังหวัดนครพนม
ที่มา ประเพณีไทย ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ วิถีชีวิต จังหวัดนครพนม
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow