ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดงานประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” เป็นประเพณีไทยที่เป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งนี้เพราะในโลกมีการยึดถือและปฏิบัติกันที่เมืองนครศรีธรรมราชแห่งเดียวเท่านั้น แต่เดิมจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวัน “มาฆบูชา” และในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวัน “วิสาขบูชา” แต่ในระยะหลัง ๆ ชาวพุทธจะนิยมมาร่วมแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชามากกว่าในวันวิสาขบูชา ทางจังหวัดจึงหันมาเน้นการจัดงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาเป็นหลัก เรียกว่าประเพณี “มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ” มาจนถึงปัจจุบัน


ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ของเมืองนครคงจะเกิดขึ้นด้วยเหตุที่ชาวนครเริ่มรับพุทธศาสนามาจากอินเดียก็รับเอาประเพณีต่าง ๆ ตามแบบของชาวพุทธในอินเดียเข้ามาด้วย โดยมักจะยึดถือกันถือกันว่า หากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระองค์ หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์มากที่สุดเท่านั้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพานแล้ว แต่ยังมีตัวแทนอยู่ เช่น เจดีย์ และพระพุทธรูป เป็นต้น การ กราบ ไหว้ บูชาสิ่งเหล่านี้ย่อมเท่ากับบูชากราบไหว้พระพุทธองค์

แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง ต่างคนต่างคณะก็เตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย เดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวนนิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาว บรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้เพราะความเชื่อกันว่าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้า จึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ

 ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

การที่ชาวนครนำเอาผ้าไปแบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ โดยการโอบรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ (ซึ่งชาวนครเรียกว่า " แห่ผ้าขึ้นธาตุ")เช่นนี้คือการบูชาที่สนิทแนบกับองค์พระพุทธองค์นั่นเอง ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครเป็นประเพณีที่มีมานานจนยากที่จะยืนยันได้แน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด ตามตำนานจองประเพณีนี้มีว่า ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ราว พ.ศ.1773 เป็นสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจัทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์อยู่นั้นคลื่นได้ซัดผ้าแถบใหญ่ชิ้นหนึ่งซึ่งมีลายเขียนเรื่องพระฑุทธประวัติ เรียกว่า "พระบฏ" ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ก่อนที่จะถึงวันสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์ไม่นาน ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระเจ้าศรีธรรมโศกราชรับสั่งให้ซักพระบฏจนสะอาด แต่ลายเขียนพระพุทธประวัติไม่ลบเลือน ยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ผ้าพระบฏเป็นผ้าซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ ปัจจุบันการทำผ้าพระบฏ เป็นการยากและต้นทุนสูง จึงใช้เป็นผ้าขาว ผ้าเหลือง ผ้าแดง จะตระเตรียมผ้าขนาดความยาวตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดก็จะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระธาตุรอบองค์ได้

ประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุของหมู่ประชาชนยังทำสืบกันมา แต่แยกเป็นต่างกลุ่มต่างทำ คือ พระบฏกลายเป็นผ้าขาว ผ้าเหลือง ผ้าแดงสุดแต่จะชอบ และไม่มีการเขียนรูปพระพุทธประวัติ เนื่องจากช่างเขียนไม่คิดค่าจ้าง การเรียกชื่อประเพณีก็จะไม่มีคำว่า "พระบฏ" ไปจนในที่สุดก็คงเหลือเพียง "แห่ผ้าขึ้นธาตุ" เป็นพุทธบูชา การแห่ก็มีเพียงช่วยกันจับชายผ้า เทินผ้า ไปตามถนน ไม่มีสำรับคับค้อน ไม่มีกระบุง กระจาด ของสด ของแห้ง บางขบวนก็ตั้งขบวบ ไปวัดพระธาตุฯ อย่างเงียบ ๆ พอเป็นพิธี แต่ละคน แต่ละคณะต่างเตรียมผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงกัน แล้วแต่สะดวก ตลอดวันมีขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่ขาด

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow