ประเพณีกวนขนมอาซูรอ ประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิม

ประเพณีกวนขนมอาซูรอ เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ


ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน

คำว่า อาซูรอ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน

ประเพณีการกวนขนมอาซูรอเริ่มจากเจ้าภาพประกาศเชิญชวน ชาวบ้านว่าจะมีการกวนขนม เมื่อถึงวันนัดหมาย ชาวบ้านจะนำเครื่องปรุงขนมมารวมกันและช่วยกันกวน เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวขอพรพระเจ้า แล้วจึงแบ่งขนมไปกินกันขนมอาซูรอ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือของคาวและของหวาน เครื่องปรุงของคาว ได้แก่เนื้อไก่ แป้ง เกลือ มัน พริกไทย กะทิและเครื่องสมุนไพรอื่นๆ แล้วแต่สูตรของแต่แหล่ง ส่วนของหวานจะประกอบด้วย แป้ง กะทิ น้ำตาล ผลไม้ตามฤดูกาล เช่นข้าวโพด มัน กล้วย ลำไย ฟักทอง ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ ฯลฯ โดยจะนำของทุกอย่างมารวมกันในกระทะใบใหญ่แล้วกวนโดยใช้ไม้พายกวน เพื่อให้สิ่งของทุกอย่างเปื่อยยุ่ยเข้าเป็น เนื้อเดียวกัน ใช้เวลากวนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง กวนให้งวด เป็นเนื้อเดียว กันตักใส่ถาดตกแต่ง หน้าให้สวย รอให้เย็นแล้วตัดแจกจ่ายแบ่งปันกันในหมู่บ้าน

ขนมอาซูรอจึงถือเป็นขนมพิเศษที่ไม่ได้หารับประทานกันง่ายๆ เพราะ 1 ปีมีให้ลิ้มชิมรสกันได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น สำหรับเด็กแล้วอาซูรอคือขนมอร่อยที่หากินได้ยาก แต่สำหรับผู้ใหญ่    อาซูรอคือความสามัคคี ความ  กลมเกลียวของคนทั้งหมู่บ้าน
ที่มา info.muslimthaipost.com

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow