หน้าที่ของวัฒนธรรม

หน้าที่ของวัฒนธรรมที่สําคัญมีดังนี้คือ



1. เป็นตัวกําหนดรูปแบบของสถาบัน มนุษย์สามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยอาศัยการก่อตั้งสถาบันต่างๆ ขึ้นมา สถาบันต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้มนุษย์จัดระเบียบพฤติกรรมของตนเอง และการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวกําหนดรูปแบบของสถาบัน ตัวอย่างเช่น รูปแบบของครอบครัวของสถาบันครอบครัว เป็นต้น

2. เป็นตัวกําหนดบทบาทความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ซึ่งกลุ่มสังคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มครอบครัวซึ่งได้ทําหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมเกี่ยวกับบทบาทตามฐานะตําแหน่งของความสัมพันธ์ทางสังคม อาทิแบบการมีครอบครัว แบบของการเลี้ยงดูบุตรหลาน และแบบของการแต่งงาน วัฒนธรรมอันเป็นตัวกําหนดแบบของความสัมพันธ์พฤติกรรมของมนุษย์นี้จะเป็นเครื่องชี้ทางและแนะแนว รวมทั้งกําหนดบทลงโทษ และให้รางวัลแก่สมาชิกด้วย

3. ทําหน้าที่ควบคุมสังคม การควบคุมทางสังคมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการแสดงออกของบุคคล และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติหรือประพฤติตามมาตรฐานที่ตั้งเอาไว้ โดยสังคมหรือกลุ่มของคน การควบคุมทางสังคมนี้อาจอยู่ในรูปที่เป็นทางการ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับที่วางไว้ หรือตรากฎหมายสามารถอ้างอิงและยึดถือเป็นหลักฐานยืนยันได้ทุกเวลา และการควบคุมที่ไม่เป็นทางการ อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมและกฎศีลธรรม เป็นต้น

4. ทําหน้าที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงว่า สังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์ของสังคมเช่นเดียวกันกับบุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคนส่วนที่เป็นนามธรรมของบุคลิกภาพก็คือ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติความรู้ความสามารถความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเปรียบได้กับวัฒนธรรมแบบไม่ใช่วัตถุของสังคม ส่วนที่มองเห็นได้ของบุคลิกภาพ เช่น รูปลักษณ์ การนุ่งห่มสวมใส่เสื้อผ้า ตลอดจนท่าทางการเดิน การพูด เป็นเสมือนวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรมของสังคม

5. ทําให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เกิดความเป็นปึกแผ่น ความจงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคม ทําให้สังคมอยู่รอด ทั้งนี้เพราะการมีลักษณะวัฒนธรรมเดียวกันของกลุ่มคนในสังคม ย่อมทําให้บุคคลเกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มเดียวกัน มีจิตสํานึกของความเป็นเจ้าของ จึงก่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน และพร้อมที่จะปกป้องเพื่อให้วัฒนธรรมอันเป็นส่วนร่วมของตนยังคงอยู่ตลอดไป

6. เป็นปัจจัยที่สําคัญในการสร้าง หล่อหลอม (moulding) บุคลิกภาพทางสังคมให้กับสมาชิก บุคลิกภาพเป็นผลรวมความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย สภาพและการแสดงออกของจิตใจ และประสบการณ์ทางวัฒนธรรม กล่าวคือ บุคลิกภาพของบุคคลส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากลักษณะทางชีวภาพ อันเป็นส่วนของกรรมพันธุ์ที่ได้จากยีนส์ (genes) ของบิดามารดา อีกส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการอยู่ร่วมติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะทําให้บุคคลได้รับการอบรมขัดเกลาทางสังคมจากกลุ่ม และตัวแทนในการขัดเกลาที่ถ่ายทอดวัฒนธรรม สิ่งที่ถ่ายทอดก็คือแบบแผนหรือวิธีการและกฎเกณฑ์ในการดําเนินชีวิต ทําให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม

7. ทําให้สมาชิกแต่ละสังคม ตระหนักถึงความหมายและวัตถุประสงค์การมีชีวิตของตน อันเป็นความหมายของสถานการณ์และที่เกี่ยวกับทัศนคติค่านิยม และจุดหมายปลายทางการเรียนรู้ความหมายของสถานการณ์ดังเช่น การยิ้ม การหัวเราะ แสดงความหมายถึงความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน หรือการชูกําปั้น หน้าบึ้ง แสดงความหมายในทางตรงกันข้าม คือความไม่พอใจ ไม่เป็นมิตร เหล่านี้เป็นผลของวัฒนธรรม วัฒนธรรมแต่ละอย่างมีวิธีการที่ละเอียดลออแตกต่างกัน ซึ่งช่วยอธิบายความหมายของแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วยวัฒนธรรมอธิบายความหมายเกี่ยวกับทัศนคติ ค่านิยม และจุดหมายปลายทางของคน กล่าวคือ บุคคลย่อมอยู่ในภาวะที่มีแนวโน้มที่จะรู้สึกและปฏิบัติด้วยวิธีการบางอย่าง(ทัศนคติ) โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวแบบที่กําหนดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา(ค่านิยม) ซึ่งกลายมาเป็นจุดหมายหรือสิ่งที่บุคคลพึงจะบรรลุถึง และเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการดําเนินชีวิต

8. สร้างหรือจัดแบบความประพฤติเพื่อว่าบุคคลจะได้ปฏิบัติตาม โดยไมเจําเป็นจะต้องคิดหาวิธีการประพฤติปฏิบัติโดยไม่จําเป็น ทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดหรืออบรมให้รู้ระเบียบทางสังคมเกี่ยวกับบทบาท ความคาดหวัง บรรทัดฐานทางสังคมต่างๆ เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow