ประเพณีขนทรายเข้าวัด


ประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีไทยมีมาแต่โบราณแล้ว การขนทรายอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย , ลำพูน เป็นต้น นิยมขนทรายในวันเนาว์ หรือวันที่ 14 เมษายน แต่ที่จังหวัดน่านนิยมขนทรายในวันพญาวัน คือ วันที่ 15 เมษายนบางแห่งก็นิยมขนทรายกันในวันสังขานต์ล่องด้วยการขนทรายจึงนิยมกันทั้ง 3 วัน คือวันสังขานต์ล่อง วันเนาว์ และวันพญาวัน  


ประเพณีขนทรายเข้าวัด ถือกันว่า เมื่อเข้าวัดแล้วเดินออก ไปนอกวัด การเดินออกไปนอกวัดอาจจะมีดินติดเท้าออกไป ทำให้เกิดบาปอีกประการหนึ่งการ ขนทรายเข้าวัดแล้วควรจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หมายถึงบูชา “ พระจุฬามณีเจดีย์ “ ที่พระอินทร์นำเอาของ ๔ อย่าง คือ 

  1. พระจุฬา คือ ส่วนพระเกษาบนกระหม่อมแห่งศรีษะ ฯ 
  2. พระมโมฬี คือ มุ่นหรือมวยผมทั้งหมด ฯ 
  3. ปิ่นมณี หรือ ปิ่นแก้ว คือ สำหรับปักมวยผม ฯ 
  4. เวฐนะ คือ เครื่องรัดมวยผม หรือเรียกว่า รัดเกล้า ฯ ที่เป็นของพระพุทธเจ้า บรรจุไว ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นอกจากนี้ยังได้บรรจุพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาอีกด้วย 

ประเพณีขนทรายเข้าวัด กุศโลบายชำระล้างบาปอย่างแนบเนียน

แม้เราจะเข้าวัดเพื่อทำบุญทำกุศลต่างๆนานาแล้ว แต่เพียงเมื่อก้าวเดินออกจากวัด คุณก็สามารถทำบาปได้โดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือบาปที่เรียกว่า หนี้สงฆ์

หนี้สงฆ์คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในวัด ที่เราไปหยิบออกมาโดยไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เงินบริจาค หรือแม้แต่ไปใช้น้ำใช้ไฟของวัดฟรีๆ ก็ถือว่าเป็นหนี้สงฆ์ แม้แต่ทำของในวัดเสียหาย ก็ถือว่าเป็นหนี้ ในทางธรรม บางคนไม่สามารถไปสวรรค์ได้ แม้จะทำบุญมามากมาย เพียงเพราะติดหนี้สงฆ์ไม่เท่าไหร่ 

สมัยโบราณ วัดต่างๆจะมีกองทรายเป็นของแต่ละวัด เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ทีนี้ชาวบ้านอาจจะไปเอาทรายจากวัดมาใช้ซ่อมแซมบ้าน หรือเดินผ่านกองทรายแล้วทรายติดเท้าออกมาจากวัด ก็ถือว่ามีหนี้สงฆ์

ดังนั้นเพื่อไม่ให้หนี้สงฆ์ติดค้าง คนโบราณจึงคิดประเพณีขนทรายเข้าวัดขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้นำทรายเข้ามาให้แก่วัด เป็นการชำระหนี้ที่ช้าวบ้านเคยเอาทรายจากวัดไปโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพือชำระบาปหนี้สงฆ์ให้หมดไป

ทุกวันนี้ น้อยคนจะเข้าว่าเราขนทรายเข้าวัดไปทำไม และทำไปเพราะประเพณีบอกให้ทำ แต่หากรู้วัตถุประสงค์แล้ว การขนทรายเข้าวัดก็จะได้ชำระจิตใจและชำระบาปบุญได้ด้วย

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow