ประเพณีไทยในการอวยพรวันปีใหม่เพื่อส่งเสริมความเป็นไทย

วันขึ้นปีใหม่ไทย ประเพณีปีใหม่ของไทย การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ นิยมปฏิบัติกันแพร่หลาย ด้วยการใช้บัตรอวยพร หรือ นิยมใช้สิ่งของ นำไปมอบให้ผู้ที่เคารพนับถือ ตลอดจนญาติสนิทมิตรสหายรวมทั้งผู้บังคับบัญชาในที่ทำงานเป็นเครื่องแสดงถึงการระลึกถึงคุณความดีและไมตรีจิตมิตรภาพ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

 วันขึ้นปีใหม่ 2013

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์

ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีไทยโบราณต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

ประเพณีการอวยพร

ประเพณีไทยสมัยโบราณ การที่จะอวยพรหรือกล่าวคำที่เป็นมงคลให้กับผู้ใด เราชอบเอ่ยด้วยวาจาและเป็นการกล่าวต่อหน้าผู้รับ ไม่มีการส่งความสุขหรือคำอวยพรด้วยการใช้บัตร ส.ค.ส. เหมือนดังทุกวันนี้ ส.ค.ส. เข้าใจว่าเริ่มเข้ามาในเมืองไทยในราวสมัยรัชกาลที่ ๗ ในชั้นแรกคงจะใช้กันในวงแคบๆ ส่วนมากเป็นขุนนางหรือเจ้านาย 

การมอบของขวัญควรทำด้วยความเคารพนอบน้อมพร้อมทั้งกล่าวอวยพรดังข้อความข้างต้น ตามธรรมดาญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ให้พรแก่ลูกหลานหรือผู้อาวุโสน้อยกว่า เมื่อลูกหลานจะอวยพรญาติผู้ใหญ่ที่เคารพจำเป็นต้องขออนุญาติคุณพระศรีรัตนตรัยดังกล่าวข้างต้นมาอวยพรแทน ซึ่งเป็นประเพณีของคนไทยมาแต่โบราณ เมื่อลูกหลาน หรือผู้อ่อนอาวุโสกล่าวคำอวยพรและมอบของขวัญแล้ว ผู้ใหญ่จะให้พรตอบ และมอบของขวัญที่เตรียมไว้เพื่อเป็นการตอบแทนที่เขาเหล่านั้นได้สละเวลามีค่ามาอวยพร เมื่อการอวยพรดำเนินไปเรียบร้อยแล้ว อาจใช้เวลาสำหรับพูดคุยกันตามความสนิทสนมคุ้นเคย ในการที่มีผู้ไปอวยพรกันอย่างคับคั่ง ผุ้ไปร่วมอวยพรมิควรใช้เวลาพูดคุยนานเกินไป ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของบ้าน หรือผู้อวยพรต่อไป

 วันขึ้นปีใหม่ 2013

ประเพณีนิยมของคนไทย ในวันปีใหม่ คือ การมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรหรือที่นิยมเรียกกันว่า ส.ค.ส ให้แก่กันและกัน ไม่ว่าจะเป็นญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ผู้บังคับบัญชา และผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อแสดงความคารวะ ความระลึกถึง ซึ่งกันและกัน ประเพณีดังกล่าวนับเป็นประเพณีไทยที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทยเราในการแสดงน้ำใจไมตรี และความเอื้ออาทรต่อผู้ที่ระลึกถึง แต่ด้วยสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน คนไทยควรจะตระหนักว่าหากได้มีการร่วมมือกันในการประหยัดเงินตราของประเทศ ด้วยการไม่ใช้จ่าย ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้ของที่ผลิตในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมกันส่งเสริมสินค้าไทย ย่อมจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้นเพื่อเป็นการธำรงไว้ซึ่งประเพณีนิยม ในการมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรให้แก่กันและกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ขอเชิญชวนให้คนไทยหันมานิยมใช้ของไทยมอบเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ อาจเป็น บัตรอวยพร ผ้าไทย ผลไม้ไทย ขนมไทย อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เสื้อผ้าไทย เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านแบบไทยจากกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร สหกรณ์ฯลฯ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ราคาไม่แพงมากนักแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสินค้าไทยให้มีตลาดกว้างขวาง เงินทองไม่ไหลเวียนออกนอกประเทศ เป็นการกระจายรายได้และเสริมทุนให้สินค้าไทยสามารถพัฒนาศักยภาพไปสู่ความเป็นสินค้าสากลส่งไปจำหน่ายได้มากขึ้นในอนาคต

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่นอกจากประเพณีการอวยพรวันปีใหม่แล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆที่จัดให้มีขึ้นดังต่อไปนี้

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

พรปีใหม่

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ที่นี่ DoFollow